ตำบักหุ้งนัวคัก
2.แนวคิดในการเลือกเรื่อง
ชื่นชอบส่วนตัวและมีความเข้าใจในสิ่งที่เลือกมากกว่าสิ่งอื่น
3.วัตถุประสงค์ของงาน
3.1 เพื่อให้ความรู้้เกี่ยวกับ
- การรับประทานอาหารอย่างถูกหลักอานามัย
- สูตรความอร่อยของส้มตำให้แซ่บนัวยิ่งขึน
- สามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
- ความรู้ทั่วไปที่อาจยังไม่รู้เกี่ยวกับภาคอีสาน
- ความเป็นมาจริงๆของส้มตำ
3.2 เพื่อให้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
- หลักอาหารและสารอาหารที่มีในส้มตำ
- ข้อดีและเสียที่ได้รับจากส้มตำ
3.3 เพื่อเพิ่มทักษะเกี่ยวกับ
- สามารถตำส้มตำทานได้เองที่บ้าน
- สามารถดัดแปลงจากของรอบๆตัวใส่ลงในส้มตำได้
4.ระยะเวลา
วันที่ 3 สิงหาคม ถึง 30 ตุลาคม 2559 รวม 2 เดือน
5.งบประมาณ
ขั้นตอนเตรียมงานค้นคว้า 300
ขั้นตอนผลิตถ่ายทำเดินทาง 500
ขั้นตอนการผลิตสรุกงาน 100
รวม 900 บาท
6.วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล
การเลือกแหล่งสารสนเทศ
- เลือกจากอินเตอร์เน็ตเป็นอันดับแรกเนื่องจากมีข้อมูลให้สืบและวิเคราะห์อยู่มาก สะดวกและง่ายต่อการดำเนินงานโดยใช้ คอมพิวเตอร์และมือถือเพื่อค้นหาข้อมูลและจัดเก็บข้อมูลต่างๆ
วิธีการรวบรวมสารสนเทศ
- เพื่อเก็บข้อมูลอย่างแม่นยำในการศึกษาเกี่ยวกับส้มตำและอากหารอีสานความเป็นมาได้มีการใช้ทั้งมือถือเพื่อการติดต่อและเพื่อบันทึกข้อมูลใช้กล้องจากมือถือเพื่อบันทึกภาพและเสียงจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านสง้มตำเป็นอย่างดี
วิธีการประเมินและคัดเลือกสารสนเทศมาใช้
- ขั้นแรกเราเลือกจากความชื่นชอบส่วนตัวและใกล้ตัวเพื่อผลลับที่จะออกมาให้ได้ดีจริงคือ เพื่อให้ได้เนื้องานที่ดีการหาข้อมูลจากหลายๆแหล่งคอสิ่งที่วสำคัญที่สุด เช่น หนังสือ อินเตอร์เน็ต หรือลงพื้นที่จริงเพื่อสอบถามเก็บข้อมูลโดยใช้มือถือเป็นหัวใจสำคัญในการเก็บงานทั้งหมดและมีลูกมือคือคอมพิวเตอร์เพื่อใช้รวรวข้อมูลงามทั้งหมดเพื่อความสมบูรณ์แบบของงาน
วิธีการเรียบเรียงปรับแต่งและนำเสนอสารสนเทศ
- ในการนำเสนอข้อมูลจะนำเสนอผ่านทาง BLOG ทางอินเตอร์เน็ต ข้อมูลที่ใช้จะเกี่ยวกับส้มตำและวัฒนธรรมของคนอีสานโดยมีการใช้มือถืออัดคลิปวีดิโอและนำไปตัดต่อในคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาเสนอใน blog ของ ตำบักหุ่งนัวคัก
เนื้อหาสารสนเทศ บทความ ที่เผ่ยแพร่ ทาง weblog
- “เฮ็ดอยู่ เฮ็ดกิน อย่างอีสาน” คนอีสานมีวิถีการหาอยู่หากินกับเกษตรและใกล้ชิดกับธรรมชาติ กล่าวคือ วัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารประจำวันได้มาจากบ้านเรือนสวนไร่นา พืชผักสวนครัวหลังบ้าน รวมถึงป่าเขาลำห้วย ที่เป็นแหล่งอาหารตามฤดูการที่อุดมสมบูรณ์
วัฒนธรรมการอยู่การกินที่สอดคล้องกับธรรมชาติสืบเนื่องมาจากการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่มักสร้างบ้านเรือนในแหล่งอุดมสมบูรณ์ทั้งตามลุ่มแม่น้ำสายใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำโขง ชี มูล แยกออกเป็นล้านน้ำสายย่อย เช่น สงคราม ลำปาง
รวมถึงห้วยหนอง คลองบึง
สายน้ำใหญ่น้อยเหล่านี้คือเส้นเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตเป็นทั้งแหล่งอาหารและแหล่งน้ำสำหรับท้องไร่ขอเกษตรกรเกิดเป็นวิถีชีวิตแบบคนสู่น้ำสำหรับคนลุ่มน้ำทั้งการเพราะปลูกข้าวและหากุ้งหอยปูปลาคนไทยเราถ้าให้นึกถึงอาหารที่แสนจะสุดแซ่บบวกกับความจัดจ้านของอาหารจะต้องนึกถึงอาหารพื้นบ้านที่ปรุงง่ายๆ
และอร่อยแบบพื้นบ้านจริงๆ ทุกคนคงต้องนึกถึงอาหารพื้นบ้านอีสานเราอาหารที่เป็นส่วนในการเจริญเติบโต
นอกจากเป็นอาหารแล้ว ผัก พืช เครื่องปรุงต่างๆยังเป็นยาด้วยเช่นกันในการสังเกตของคนในสมัยโบราณที่ผิดปกติของร่างกายโดยใช้ผักสมุนไพรพื้นบ้านในการรักษาที่มีสรรพคุณและเป็นสมุนไพรแก้อาการต่างๆได้
แม้ปัจจุบันการหากินแบบนี้เปลี่ยนไปเพราะทรัพยากรธรรมชาติร่อยหร่อ
หรือมีวิถีชีวิตเกี่ยวพันกับเมือมากขึ้น เมื่อต้องพึ่งพาธรรมชาติดินของคนอีสานยังคงผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติรอบชุมชนแม้จะน้อยลงไปมากแต่ก็ยังมีให้เห็นในครัวบ้านส่วนใหญ่ยังคงปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบที่เก็บหามาได้จากแม่น้ำลำห้วย
ท้องนา ป่าเขา อันเป็นเหมือนซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ของภาคอีสานที่เต็มไปด้วยอาหารตามฤดูการหมุดเวียนตลอดปีเป็นมรกดทางวัฒนธรรมของลูกหลานอีสานต่อไป
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการดำเนินงาน
- การไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญก็ค่อนข้างจะขอความช่วยเหลือยากเนื่องจากหวงสูตรและเสียเวลาในการทำงานเลยอาศัยการสัมภาษณ์บุคคลที่พอจะมีความรู้เรื่องที่เราทำ
7.บรรณานุกรม
บรรณานุกรมหนังสือ
- การต์ เหมวิหด, สุปรียา ห้องแซง : อาหารอีสาน : สำนักพิมพ์เศษฐศิลลป์ : กรุงเทพ 2558
บรรณานุกรมข้อมูลออนไลท์
-เข้าถึงได้จาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B3 วันที่ข้นหาขอมูล 26 สิงหาคม 2559
บรรณานุกรมสัมภาษณ์
- เพ็ญธิดา ทองพิทักษ์ (ฟาง) ลูกสาวเจ้าของร้าน จิ้มจุ่มยโสธร จากสาขามีนบุรี วันที่ 6 ตุลาคม 2559
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น