หน้าแรก

"ส้มตำ"หากินได้ดาษดื่นก็จริงแต่ถ้าจะให้อร่อยถูกปากต้องตำกินเองในแบบฉบับ"เจ้าคุณอู๋"                   ปัญหาส่วนใหญ่ของคนที่คิดจะตำส้มตำก็คือ ไม่รู้จะใส่อะไรก่อนอะไรหลัง ก็เลยคิดว่ามันยุ่งยากจึงมาอธิบายให้ฟังว่า มันมีแค่สองส่วน ส่วนที่เป็น"น้ำสลัด"ต้องตำก่อน จากนั้นค่อยเอาส่วนที่สองคือ เส้นผักที่เตรียมไว้ลงไปคลุก แค่นี้ก็เสร็จ ส่วนรสชาติก็เช่นกัน ชอบอะไรมากก็ใส่มาก ชอบอะไรน้อยก็ใส่น้อย ไม่มีสูตรตายตัวหรอก"ส้มตำ"มีถิ่นกำเนิดจากภาคอิสาน ที่นิยมรับประทานกันแพร่หลายไปทั่วโลก จนปัจจุบันกลายเป็นอาหารประจำชาติไทย รองจาก"ต้มยำกุ้ง"ไปเสียแล้ว เป็นอาหารที่หากินง่าย ซื้อง่าย ขายคล่อง หลายคนบอกว่าทำง่ายนิดเดียว ง่ายพอๆกับไข่เจียว แต่จะมีสักกี่คนที่สามารถทำส้มตำให้อร่อยถูกใจ อันที่จริงการจะถูกใจหรือไม่นั้น มันก็ขึ้นกับรสนิยมของแต่ละคน ดังนั้นจึงต้องลงมือทำกินเองดีที่สุดครับ...บทความนี้เขียนเพื่อแนะนำเพื่อนๆที่ชอบกินได้ลองทำกันเองดู ไม่ยากอย่างที่คิดเลย อุปกรณ์และเครื่องปรุงผมก็เน้นหาง่ายจากซูเปอร์มาร์เก็ตข้างๆบ้านนั่นแหละครับ...จากการที่ชอบกินส้มตำ จึงได้ศึกษาวิธีทำมาอย่างหลากหลาย และแล้วในที่สุดก็ได้ค้นพบสูตรสำเร็จด้วยตัวเองเมื่อได้วิเคราะห์ส่วนประกอบของสัมตำดูแล้ว มันก็คือการ"สลัด"นั่นเองแหละครับ ดังนั้นส่วนประกอบของสลัดก็มีเพียงสองส่วน ก็คือ น้ำสลัด และผักสด

การทำสัมตำอย่างง่ายๆ  ก็มีเพียงสองขั้นตอนหลักๆ เช่นกัน นั่นคือ
๑.ขั้นตอนการทำน้ำสลัด
๒.ขั้นตอนการคลุกเคล้ากับผักสด
 รสชาติของส้มตำไม่มีกฏตายตัว ว่าจะต้องเป็นแบบไหน อย่างไร จึงจะอร่อย เคล็ดไม่ลับก็มีเพียงว่า...ใครชอบรสไหนก็ใส่รสนั้นเยอะ ไม่ชอบก็ใส่น้อย แต่โดยทั่วไปมักจะนิยมปรุงให้มีรสเปรี้ยวนำ และตามด้วยหวาน เนื่องจากคำว่า"ส้ม"แปลว่า"เปรี้ยว"



  • มาเริ่มลงมือกันเลยดีกว่า...
  • อุปกรณ์และเครื่องปรุงผมก็เน้นหาง่ายจากซูเปอร์มาร์เก็ตข้างๆบ้านนั่นแหละครับ...โดยแบ่งเป็น ๓ กลุ่มหลักๆดังนี้
  • ๑.กลุ่มเครื่องปรุงน้ำสลัด พริก กระเทียม น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา น้ำมะขาม น้ำมะนาว
  • ๒.กลุ่มผักสด หลักๆก็มี มะละกอดิบ แครอท มะม่วง มะเขือเทศ มะกอก ถั่วฝักยาว หรืออื่นๆตามใจชอบ
  • ๓.กลุ่มเครื่องประกอบตามใจชอบ เช่นปลาร้า ปูเค็ม ปูม้า กุ้งแห้ง กุ้งสด ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ หรืออื่นใดตามแต่ชอบ



อ่านต่อได้ที่ :  https://www.facebook.com/notes/pupisit-jaokhunou-homthoobprom




"ส้มตำ กินอย่างไรให้แซ่บ และได้ประโยชน์"
          "ส้มตำ ยังเป็นอาหารรสชาติจัดจ้าน ยอดนิยมของคนไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันไม่เสื่อมคลาย หาใช่เพียงรสชาติที่แซบ ถึงอกถึงใจเท่านั้น ส้มตำถือเป็นอาหารเพื่อสุขภาพเมนูหนึ่งที่มีไขมันและให้พลังงานต่ำ แต่มีใยอาหารและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง หากแต่ต้องปรุงรสชาติให้พอเหมาะพอควร" นักโภชนาการบำบัดและผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ บอกเล่าอย่างน่าสนใน ส้มตำหนึ่งจานมีส่วนผสมของผัก สมุนไพรที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นมะละกอ กระเทียม มะเขือเทศ พริกขี้หนู ถั่วฝักยาว ฯลฯ ซึ่งมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และชะลอวัยด้วย แม้ว่าส้มตำจะมีรสชาติ เปรี้ยว หวาน และเค็ม อร่อยถูกปากคนไทย แต่การบริโภคส้มตำเพียงอย่างเดียว ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จึงต้องกินอาหารอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วยคือ ข้าวเหนียว ขนมจีน ไก่ย่าง หมูย่าง หรือลาบต่าง ๆ ซึ่งมีสารอาหารครบถ้วน ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน  ส้มตำเป็นอาหารสด ไม่ผ่านความร้อน (Low Food) เรื่องความสะอาดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง หากไม่สะอาด มีการปนเปื้อน อาจทำให้ท้องเสียได้ ส่วนเครื่องปรุงต่าง ๆ ต้องสังเกตเชื้อราที่อาจปะปนอย่าง "อะฟลาทอกซิน" ซึ่งมักจะมีอยู่ในถั่วลิสง กุ้งแห้ง กระเทียม ซึ่งเชื้อชนิดนี้เป็นโทษร้ายแรงต่อตับ การเลือกรับประทานควรสังเกตความสะอาดด้านสุขาภิบาลของร้านค้าด้วย ส่วนปลาร้าเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง แต่หลายคนมักสงสัยว่า จะกินปลาร้าสุกหรือดิบดี ถ้าหากเลือกได้ไม่ว่าจะเป็นปลาร้า หรือปูเค็ม ควรจะกินแบบสุกดีกว่า และควรสังเกตความสะอาดของปูและภาชนะที่บรรจุด้วย






อ่านต่อได้ที่ : http://health.kapook.com/view92194.html




"สัมตำมาจากไหน?"
รายการเมนูอาหารยอดฮิตที่ทุกคนต้องรู้จักแน่นอน  คงหนีไม่พ้นส้มตำ ซึ่งมีหลากหลาบเมนูย่อยๆ เป็นรายการอาหารที่สะท้อนความสัมพันธ์ของคนไทยในเชิงสังคมวิทยามากที่สุด  เราลองมาดูที่มากันครับว่า ส้มตำ มาจากไหน
        คนมักเข้าใจกันผิดว่าส้มตำเป็นอาหารพื้นเมืองของภาคอีสานหรือของลาว แท้จริงแล้วส้มตำเป็นอาหารสมัยใหม่ถือกำเนิดมาราว 40 ปีเท่านั้น เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่นำเข้ามาจากเมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย ในช่วงสงครามเวียดนาม ซึ่งในตอนนั้นรัฐบาลไทยให้สหรัฐอเมริกา เข้ามาตั้งฐานทัพ และตัดถนนมิตรภาพเพื่อเป็นเส้นทางลำเลียงยุทโธปกรณ์ไปยังพื้นที่สู้รบ พร้อมกันนั้นได้นำเมล็ดพันธุ์มะละกอไปปลูกสองข้างทางของถนนมิตรภาพ มะละกอจึงเผยแพร่ไปสู่ภาคอีสาน เปิดโอกาสให้ชาวอีสานได้ประดิษฐ์ส้มตำขึ้น
        ส้มตำ เป็นอาหารที่คนอีสานชอบและกิน กินกับข้าวเหนียวหรือกินเล่นๆ ก็ได้ คนภาคอีสานและภาคเหนือเรียกว่า ตำส้ม การทำส้มตำทำง่ายๆ คือ นำมะละกอที่แก่จัดมาปลอกเปลือกออก ล้างเอายางออกให้สะอาดแล้วสับไปตามทางยาวของลูกมะละกอ สับได้ที่แล้วก็ซอยออกเป็นชิ้นบางๆ จะได้มะละกอเป็นเส้นเล็กๆ ปลายเรียว เมื่อได้ปริมาณมากตามต้องการแล้ว ต่อไปก็เตรียม พริก กระเทียม มะนาว น้ำปลา ถ้าเป็นส้มตำแบบอีสานแท้นั้นใช้น้ำปลาร้าแทนน้ำปลาหรือจะใช้ทั้งสองอย่าง
        เมื่อเตรียมทุกอย่างครบแล้วก็นำ พริก กระเทียมมาใส่ลงในครก ใช้สากตำละเอียดพอประมาณ ใส่มะละกอที่ซอยไว้แล้วลงไป ตำให้พริก กระเทียม มะละกอคลุกเคล้ากันให้เข้ากันดี หากเตรียมมะเขือเทศและถั่วฝักยาวมาด้วยก็จะฝานผสมลงไป เติมมะนาว น้ำปลาร้า และน้ำปลา ตำคลุกเคล้ากันดีแล้ว ตักชิมรสดู เติมเปรี้ยวหรือเค็มตามต้องการ แล้วตักใส่จาน กินกับข้าวเหนียวได้พร้อมกับกับข้าวอย่างอื่น คนอีสานกินส้มตำเป็นกับข้าวได้ทุกมื้อ
        ต่อมาตำส้มของชาวอีสานแพร่หลายลงมาภาคกลาง อาจเนื่องมาจากชาวอีสานมาทำงานเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ตำส้มแบบอีสานก็แพร่หลายในกรุงเทพและส่วนอื่นๆของประเทศไทย โดยเฉพาะร้านข้าวเหนียวส้มตำจะแพร่หลายอยู่ตามกลุ่มคนงานชาวอีสาน
        นอกจากส้มตำก็จะมีไก่ย่าง ปลาดุกย่างและอาหารอื่นๆด้วย ส้มตำเลยเป็นที่นิยมแพร่หลาย การทำส้มตำจึงมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับคนภาคกลาง เช่น เพิ่มน้ำตาลให้มีรสหวาน เพิ่มถั่วลิสงคั่ว และกุ้งแห้ง ตัดปลาร้าออกใช้แต่น้ำปลาเป็นต้น ส้มตำ หรือ ตำส้มจึงมีรสดั้งเดิมแบบอีสาน หรือแบบภาคกลาง เรียกว่า ตำไทย ซึ่งออกรสหวาน ยิ่งกว่านั้นยังมีการเพิ่มปูดองเข้าไปอีกเพื่อเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น


อ่านต่อได้ที่ : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=93




































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น